วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

เงินตราในสมัยกรุงศรีอยุธยา

เงินตราในสมัยกรุงศรีอยุธยา

           ก่อนหน้าการกำเนิดอาณาจักรอยุธยา มีเงินตราใช้กันแล้ว มีลัษณะคล้ายกำไรขอมือ ทำด้ยวโลหะเงินหนัก 4บาท มีตราคล้ายช่อดอกไม้ ตีประทับอยู่ 3ตรา เรียกว่า เงินกำไล ต่อมาจึงวิวัฒนาการจนมีรูปลักษณะกะทัดรัดคล้ายตัวด้วงขดอยู่ มีตราประทับที่ด้านบน ด้านหน้าและปลายขาทั้งสอง
           เมื่ออยุธยากลายเป็นอาณาจักรที่เข้มเเข้ง จึงได้วางมาตรฐานของนำหนัก รูปร่าง และการประทับตราเพื่อแสดงถึงการผูกขาดของรัฐในการออกใช้เงินพดด้วง ในสมัยนี้เงินพดด้วงมีลักษณะเกือบเป็นก้อนกลม มีตราประทับ 2 ตรา ที่ด้านบนเป็นตราธรรมจักรหรือจักร ซึ่งเป็นเครื่องหมายประจำแผ่นดิน ส่วนตราด้านหน้าเป็นเครื่องหมายประจำรัชกาล มีรูปร่างแตกต่างกันไปตามรัชกาลนั้น เช่น ในสมัยพระนารายณ์เป็นตราธรรมจักรกับพุ่มข้าวบิณฑ์
เงินพดด้วงมีขนาดต่างๆกัน จากหลักฐานที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุหรือเอกสารของชาวต่างประเทศที่เข้ามาในสมัยอยุธยา สรุปได้ว่ามี 6 ขนาด คือ บาท กึ่งบาท สลึง เฟื้อง 2ไพ และไพ แต่ที่ใช้แพร่หลายมี 4 ขนาด คือ บาท สลึง เฟื้อง และ 2ไพ เงินพดด้วงนั้นใช้กันในวงการค้าซึ่งในสมัยอยุธยาการค้าเป็นรายได้สำคัญของรัฐ และเป็นการค้าภายใต้การผูกขาดของพระคลังสินค้า การหมุนเวียนของเงินพดด้วงในตลาดจึงจำกัดอยู่ในวงการค้าระหว่างพระคลังสินค้ากับบริษัทต่างประเทศ ส่วนการค้าของราษฎมีการใช้เงินพดด้วงไม่มากนัก แต่จะใช้เบี้ยเป็นเงินตราในการค้าขายมากกว่า
เบี้ย คือ เปลือกหอยเล็กๆ ที่พ่อค้าชาวต่างชาติเป็นผู้นำเมาจากหมู่เกาะมัลดีฟ เบี้ยมีหลายชนิด เช่น เบี้ยจั่น และเบี้ยนาง เป็นต้น ราคาเบี้ยขึ้นกับจำนวนนำเข้า ตามปกติ 800 เบี้ย มีค่าเท่ากับ 1 เฟื้อง แต่หากปีใดพ่อค้าพ่อค้านำเข้ามาจำนวนน้อย ความต้อวการจะมีมากขึ้นราคาเบี้ยจะตกอยู่ราว 500-700 เบี้ย เป็น 1 เฟื้อง มีบันทึกว่า ราษฎพกเบี้ยไปตลาดเพียง 5-10-20 เบี้ยก็พอซื้อหาอาหารหรือของใช้
ในบางสมัยมีการใช้ประกับแทนเบี้ยเป็นเงินย่อย เช่น ในสมัยพระเจ้าบรมโกศใช้ประกับเป็นเงินย่อย ประกับทำจากดินเผา มีลักษณะเป็นแผ่นกลมมีทั้งตราไก่ ตรากินรี ตรากระต่าย และตราสิงห์ อาจเป็นไปได้ว่าเบี้ยขาดตลาด รัฐจึงผลิตประกับออกมาใช้แทนชั่วระยะหนึ่ง



เงินตราสมัยอยุธยามีใช้อยู่4ชนิดมีดังนี้
1.เงินพดด้วง เงินที่มีตราประทับ
  

















2.เบี้ย หอยเบี้ยที่นำเข้ามาจากทางตะวันตน


  










3.ไพและกล่ำ ทำมาจากโลหะไม่ใช่เงิน




4.เงินปะกับ เงินปลีกที่ทำด้วยดินเผา ใช้แทนเบี้ยเมื่อยามขาดแคลน


ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีระบบเงินตราดังนี้
๑ ชั่ง            เท่ากับ                 ๒๐   ตำลึง
๑ ตำลึง        เท่ากับ                      บาท
๑ บาท         เท่ากับ                      สลึง
๑ สลึง          เท่ากับ                      เฟื้อง
๑ เฟื้อง         เท่ากับ                      ไพ
๑ ไพ             เท่ากับ                 ๑๐๐ เบี้ย
๒ กล่ำ          เท่ากับ                        ไพ